เที่ยวเพชรบูรณ์เมืองมะขามหวาน ท่องวัฒนธรรมไทหล่ม

หากคิดถึงเพชรบูรณ์ทุกคนจะคงนึกถึง มะขามหวาน เป็นของขึ้นชื่อของจังหวัด ดั่งคำขวัญที่ว่า “เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง” แต่หากวันนี้คงจะไม่ได้มาพูดถึงแค่ มะขามหวาน เพียงอย่างเดียว ยังจะมีของดีเมืองเพชรบูรณ์อีกหลายอย่างที่น่าจะสนใจ ซึ่งวันนี้ทาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเพชรบูรณ์จะพาพวกเรา Ride Explorer ไปเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ อีกมุมมองหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์กัน

จังหวัดเพชรบูรณ์อยู่ห่างกรุงเทพมหานครขึ้นไปทางเหนือระยะทาง 346 กิโลเมตร ผ่านพระนครศรีอยุธยา – สระบุรี – ลพบุรี ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 5 ชั่วโมง โดยการเดินทางครั้งนี้เราออกเดินทางกันตั้งแต่เช้าตรู่ มุ่งหน้าสู่เมืองมะขามหวานเพชรบูรณ์จนมาถึงก็เวลาประมาณเที่ยงกว่า ๆ โดยเรามาแวะพักรับประทานอาหารเที่ยงของดีเมืองเพชรบูรณ์กันที่ ร้าน “โกเข่ง นางั่ว” อยู่บน ต.นางั่ว อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์

หน้าร้าน โกเข่ง ยังคงเป็นแบบดั้งเดิม

ร้านนี้ขายอาหารตามสั่ง แต่ขอบอกว่ารถชาตินี่ไม่ธรรมตา โดยเฉพาะ “กระเพาะปลาผัดแห้ง” อร่อยเด็ดมาก นอกจากนี้ยังมีของขึ้นชื่อที่หากินได้ยากนั่นที่ร้านทำมาแล้ว 34 ปี ก็คือ “ขนมลืมกลืน” รูปร่างหน้าตาเหมือนตะโก้ แต่ใช้แป้งสลิ่มหรือแป้งถั่วเขียวเป็นส่วนผสม ทำให้รสชาตินั้นหอม หวาน นุ่มลิ้น เมื่อเข้าปากอร่อยจนลืมกลืนเลยครับ

เมนูอาหารหลากหลาย

เมนูเด็ด “กระเพาะปลาผัดแห้ง” อร่อยเด็ด

“ขนมลืมกลืน” หวาน หอม ละมุนลิ้น

เตรียมใบจากมาพับเป็นกระทง

 ส่วนผสมง่าย ๆ “แป้งสลิ่ม เผือก และ น้ำตาลทรายขาว”

นำส่วนผสมมาเทรวม ใส่น้ำไปต้มให้ร้อนแล้วตีให้เข้ากัน

คนให้เข้าที่ แล้วนำมาหยอดใส่กระทง แล้วนำเข้าตู้เย็น

หลังจากนั้นเรามุ่งหน้าออกไปดูวิธีการผลิตมะขามแปรรูปกันที่ “สารัช มาเก็ตติ้ง” ผู้ผลิตและจำหน่ายมะขามแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นมะขามจี๊ดจ๊าดที่เรารู้จักกันดี รวมถึงผลิตภัณฑ์มะขามอีกมากมาย

คัดแยกมะขามเพื่อนำไปแปรรูป

มะขามคลุกน้ำตาล

ออกมาเป็นแพ็คเกจ มะขามจี๊ดจ๊าด “สารัช”

นอกจากมะขามแล้วของขึ้นชื่อของเมืองเพชรบูรณ์อีกอย่างหนึ่งคนจะหนีไม่พ้นขนมจีน เราจึงเดินทางมาที่ “ร้านขนมจีน 7 สี สารัช” ซึ่งถือว่าเป็นขนมจีน 7 สี ต้นตำรับของเพชรบูรณ์เลยทีเดียว โดยสีของเส้นขนมจีนจะใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมอาทิ สีม่วงมาจากดอกอัญชัน สีเหลืองมาจากฟักทอง สีเขียวมาจากใบเตย ที่สำคัญหากใครมากินที่นี่เส้นขนมจีนที่นี่ทำสดให้เห็นกันเลยทีเดียว

ป้ายบอกสีเส้นทำจากผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ

ขนมจีน 7 สี สารัช

คำเล็ก ๆ ทานง่าย

เสิร์ฟพร้อม น้ำยาป่า น้ำพริก แกงไตปลาและผักสดปลูกเอง

พออิ่มกันแล้ว เราก็มุ่งหน้าสู่ถนนสาย 21 สระบุรี – หล่มสัก เพื่อมุ่งหน้าไปยังพิพิธภัณฑ์หล่มสัก ซึ่งจะจำลองวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวไทหล่มไว้ทั้งหมด รวมถึงร้านดั้งเดิมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เบ็ญจบันเทิง โรงหนังในเมืองหล่มสัก, โรงฝิ่นหล่มสัก, ปรีชาเกศา, ร้านหมุยหลี นอกจากนี้ยังมีหุ่นขี้ผึ้ง “ลาวพุงขาว สาวนุ่งซี่น”  ซึ่งจุดเด่นของลาวพุงขาวคือ จะมีการสักตั้งแต่ต้นขาจนไปถึงเข่า ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการสักของคนลาวล้านช้างที่อยู่ 2 ริมฝั่งโขง ส่วนสาวนุ่งซิ่นพื้นถิ่นแท้ ๆ จะนุ่งผ้าซิ่นที่มีลักษณะ “หัวแดง ตีนก่าน”  เป็นลักษณะเฉพาะของเพชรบูรณ์

เบ็ญจบันเทิง โรงภาพยนต์ดั้งเดิมของ หล่มสัก

ภาพยนต์แสดงวิถีชีวิตของชาวเมืองหล่มสัก นำแสดงโดย คุณชุมพร เทพพิทักษ์

โรงฝิ่นหล่มสัก

ร้านตัดผม ปรีชาเกศา

ร้านหมุย หลี

ลาวพุงขาว

สาวนุ่งซิ่น

วิถีชีวิตดั้งเดิมคนหล่มสัก

พอออกมาด้านนอกพิพิธภัณฑ์หล่มสัก จะมี “ถนนคนเดินไทหล่ม” เป็นคนถนนเดินตั้งอยู่ริมน้ำป่าสัก ให้บรรยากาศดีมาก มีของให้ช็อปหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นของกินโดยเฉพาะขนมจีน

ขนมจีนน้ำยาจานละ 10 บาท

หรือที่ประทับใจคือของกินโบราณของชาวไทหล่มนั่นก็คือ “ข้าวจี่ทอดโบราณ ไทหล่ม” ที่หากใครได้ลองแล้วจะติดใจ นอกจากจะมีของขายแล้วก็ยังมีเด็ก ๆ มาโชว์ลีลาการเล่น พิณ ไฟฟ้าโชว์ความสามารถ ส่วนอีกฝั่งก็จะมีเวทีรำวงย้อนยุคให้เพลิดเพลินสนุกสนานอีกด้วย

ร้านข้าวจี่ทอด ไทหล่ม สูตรดั้งเดิม

ทอดเสร็จสีน่ากินมากกกก

ศิลปินหนุ่มน้อย พร้อม พิณ คู่ใจ

บรรยากาศ “ถนนคนเดินไทหล่ม”

ของกินหลากหลาย

พอเข้าวันที่ 2 ของการเดินทาง โปรแกรมแรกเรามาเยือน “บ้านห้วยโปร่ง” เพื่อมาดูการทอซิ่งของชาวไทหล่มที่มีลักษณะเฉพาะคือ “หัวแดง ตีนก่าน” ส่วนลายในการทอส่วนใหญ่ของชาวไทหล่มจะมีประมาณ 5 ลาย คือ พญานาค เสาหลา ปราสาทผึ้ง กระจับ และดอกแก้ว โดยได้ “ป้าทองยุ่น ก้อนดี” สาธิตการทอผ้าให้พวกเราได้เรียนรู้วิธีการทอผ้าแบบดั้งเดิม

ป้าทองยุ่น ก้อนดี

สาธิตการทอซิ่น

ลายผ้าต่าง ๆ “พญานาค เสาหลา ปราสาทผึ้ง กระจับ และดอกแก้ว”

ลักษณะของซิ่นไทหล่ม “หัวแดง ตีนก่าน”

หลังจากนั้นก็ได้มุ่งหน้าสู่ “อนุสรณ์สถานเมืองราด (พ่อขุนผาเมือง)” ซึ่งสถานที่แห่งนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่เกียรติประวัติของ พ่อขุนผาเมือง  ผู้สร้างเมืองราด ซึ่งปัจจุบันคือพื้นที่ ต. บ้านหวาย ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเนื่องจากประวัติศาสตร์มีการจดบันทึกวีรกรรมของพ่อขุนผาเมืองไว้ไม่มากนัก

ศาลพ่อขุนผาเมือง

ประวัติแบบย่อของ พ่อขุนผาเมือง

เครื่องใช้สมัยโบราณของชาวไทหล่ม

ข้าวสารดำ

สำหรับใครที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการท่องเที่ยวเพชรบูรณ์สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ ถนนสระบุรี – หล่มสัก ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000 โทร 056-737-094-5 หรือทางเว็บไซต์ www.phetchabun.mots.go.th

#RideExplorer #โพสต์พาเที่ยว #Amazingไทยเท่ #GoNorthThailand #Petchaboon 

 

 

 

 

 

 

Loading Facebook Comments ...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here