สุราษฎร์วิถีแห่งสายน้ำ คลองร้อยสาย

ชีพจรลง South เที่ยวใต้ไม่ได้มีดีแค่ทะเล

ชมเรือพนมพระ เทศกาลออกพรรษา…ไม่เหมือนใคร

 

ออกเดินทางไป จ.สุราษฎร์ธานี โดยสายการบินแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ FD3235  โดยนัดหมายกันที่เคาน์เตอร์ สายการบินแอร์เอเชีย กันตั้งแต่เข้าตรู่.เพื่อเดินทางเวลามุ่งหน้าสู่ สนามบินสุราษฎร์ธานีในเวลา  07.10 น. เที่ยวบินนี้เหมาะกับคนที่มีเวลาเดินทางท่องเที่ยวน้อยวัน สามารถเดินทางกันตั้งแต่รุ่งเช้า เพื่อไปเก็บเกี่ยวระยะทางคุ้มค่า ระหว่างการเดินทาง หากใครที่อยากจะเข้าไป Booking จองสายการบิน สามารถคลิกเข้าไปจองได้ที่ www.airasia.com/th  เพื่อเลือกไฟล์ทและเส้นทางการเดินทางที่แสนสะดวกสบาย

การเดินทางครั้งนี้ ได้รับการดูแลโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคใต้ โดยโปรแกรมแรก เมื่อเดินทางสู่จังหวัดสุราษฎร์ ทั้งคณะฯ ได้ไปเยี่ยมชมเรือพนมพระ ณ วัดบางไทร เล่าขานตานานงานชักพระฯ และเรียนรู้การทาข้าวต้มลูกโยน เพื่อเตรียมทาบุญตักบาตรในวันชักพระ

ก่อนจะไปรับประทานอาหารกลางวัน มื้อแรกเจ้าภาพก็พาไปประเดิมของดี เมืองคนดี ตามคำขวัญจังหวัดกันเลย

“เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ”  มื้อนี้ เราได้ประเดิมอาหารทะเลสด ทั้งหอยนางรม ปูนึ่ง กุ้งย่าง เรียกว่า ทุกเมนูทะเลเผา เราจัดเต็ม ร้านนี้ถือเป็นร้านอาหารทะเลต้นตำรับ ทะเลสุราษฎร์ กันที่ร้านลำพู ร้านเก่าแก่ ร้านดังย่านเมืองสุราษฎร์ ที่ไม่น่าพลาด บอกเลยทั้งสด ทั้งอร่อย ลำพู 1 โทร  077285120 หรือคลิก ติดตามบรรยากาศร้านได้ที่  เพจ  ร้านลำพู1ปากน้ำตาปี

แล้วไปเพลินกับบรรยากาศล่องเรือในคลองร้อยสาย กับ สุราษฎร์วิถีแห่งสายน้ำ ชมการฝึกลิงขึ้นมะพร้าว และชมอู่ต่อเรือ ที่ถือเป็นการต่อเรือตั้งแต่เรือพายลำเล็ก จนถึงเรือประมงลำใหญ่ ที่ได้รับความสนใจในการท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างมาก หลังจากนั้นไปทานอาหารพื้นถิ่นกันก่อนที่จะไปชมพุ่มผ้าป่าหน้าบ้าน พันพุ่มร้อยวัด มหัศจรรย์เมืองคนดี ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจก่อนวันออกพรรษา ที่ชุมชน ชาวบ้านจะตั้งมั่นในการจัดพุ่มหลวง พุ่มผ้าป่าหน้าบ้าน เพื่อรักษาวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม ไม่ให้เลือนหาย ก่อนที่จะกลับไปพักผ่อน

เตรียมรับแสงอรุณแรกแห่งวันออกพรรษากันตั้งแต่เช้าตรู่ แต่พวกเราก็ไม่มีใครออกอาการอ่อนล้า ยิ่งจะตื่นเต้นที่ได้มีโอกาสได้ร่วมบุญใหญ่ในเทศกาลออกพรรษาที่ชาวสุราษฏร์ ต่างมุ่งมั่น ร่วมกันสานต่อประเพณีดีงามกันทั้งจังหวัดอีกด้วย โปรแกรมแรกออกเดินทางไป ร่วมชักพุ่มผ้าป่าหน้าบ้าน สร้างบุญครั้งยิ่งใหญ่หนึ่งเดียวในประเทศไทย ชมขบวนแห่ และร่วมทาบุญไหว้พระร้อยวัด มหัศจรรย์วันเดียว บรรยากาศคึกคักมาก และผู้คนให้ความสนใจอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ประเพณีการถวายพุ่มผ้าป่าหน้าบ้าน และพุ่มหลวงที่พ่อเมือง ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฏร์ธานี พร้อมด้วย ผอ. นิธิ สีแพร ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยทุกภาคส่วน กลุ่ม ชุมชนให้ความร่วมมือร่วมใจให้เกิดประเพณีดีงามในครั้งนี้ ก่อนที่จะไปชมประเพณีการชักพระด้วยทางรถและทางเรือ โดยการชักพระทางเรือ ถือเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ไม่มีใครเหมือน พร้อมกันนี้ยังได้ชมบรรยากาศการแข่งเรือประเพณี ปิดท้ายบรรยากาศ ประเพณี วัฒนธรรม อันดีงาม ของชาวสุราษฏร์ธานี ที่ไม่ควรพลาด

หลังจากรับประทานอาหารกลางวัน  กับเมนูอาหารพื้นถิ่น รสแซ่บกันแล้ว โพสต์พาเที่ยว จะชวนไป เยี่ยมชมสวนลุงสงค์ กันต่อเพื่อเรียนรู้กระบวนการแปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น พร้อมกับผ่อนคลาย ด้วยการทำสปากากมะพร้าว  โดยได้รับคำแนะนำจาก ครูเอก สำหรับใครที่สนใจโปรแกรมการเรียนรู้ในกิจกรรมต่างๆ ของ สวนลุงสงค์ สามารถเข้าไปที่ เพจ สวนลุงสงค์ หรือโทร 081 396 5077

หลังจากรับประทานอาหารเย็น ก็ไป ตื่นตา ตื่นใจกับขบวนชักพระทางน้าประดับแสงสีที่งดงาม และได้มีโอกาสได้ทำบุญ ณ เรือชักพระที่มีจำนวน กว่า 130 ลำ รวมถึงขบวนแห่เทียนเข้าพรรษา จาก จังหวัดอุบลราชธานี

ที่เข้ามาร่วมประเพณีข้ามภาค ถือเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณี และการท่องเที่ยว ในพื้นถิ่นร่วมกัน ถือเป็นการทำบุญครั้งใหญ่ของนักท่องเที่ยวและชาวสุราษฎร์ธานี ที่มีโอกาสได้ร่วมทำบุญครั้งใหญ่ ในช่วงออกพรรษา

เป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ และตื่นตา ตื่นใจตลอดการเดินทางสายบุญในวันนี้  เป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวที่อิ่มสุข อิ่มบุญ ก่อนที่จะแยกย้ายไปพักผ่อนตามอัธยาศัย เพื่อไปลุยโปรแกรมในวันรุ่งขึ้น

จากโปรแกรมแรก ตั้งใจออกเดินทางสู่ ต. ต้นยวน อ.พนม เพื่อนมัสการพระธาตุบนเจดีย์ลอยฟ้า และสักการะเจ้าแม่กวนอิม แห่งอุทยานธรรมเขานาในหลวง  ซึ่งอาจารย์สมพงศ์ วชิระปัญโญ และชาวชนเขานาในได้สรรสร้างบนยอดสูงที่สามารถเดินขึ้นด้วย  บันไดที่มั่นคงแข็งแรง จากพลังศรัทธาและความสามัคคีก่อกำเนิดองค์เจดีย์บนภูผา อุทยานธรรมเขานาในหลวงก่อตั้งขึ้นโดยพระอาจารย์ไพร ตั้งอยู่ตำบลต้นยวน อำเภอพนม โดยท่านและชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างองค์เจดีย์ไว้บนยอดเขาหินปูนที่มีอยู่รอบ ๆ พื้นที่ รายล้อมด้วยธรรมชาติที่ร่มรื่น ช่วงเช้าจะปรากฏทะเลหมอก รอบ ๆ บริเวณ ทำไห้ได้ความรู้สึกเหมือนกับได้ชมเจดีย์ลอยฟ้า ชาวบ้านคนไหนว่างก็จะมาช่วยกันโดยไม่มีค่าแรงใด ๆ มีกำหนดสร้างรวมทั้งหมด 7  เจดีย์ด้วยกัน ซึ่งแต่ละองค์จะมีชื่อและรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันไป   ด้วยกรอบเวลา จึงยังไม่ได้ไปอุทยานธรรมเขานาในหลวง ในทริปนี้

ทั้งนี้หากใครที่สนใจจะไปนมัสการพระธาตุฯ แล้ว ขอแนะนำให้วางโปรแกรมที่นี่รวมระยะเวลาเดินทางไปและกลับ 1 วัน เพื่อใช้เวลาในการทำสมาธิและอิ่มบุญกับการเดินทางมาสักครั้ง พร้อมทั้งเก็บภาพ ประทับใจกับทัศนียภาพอันงดงามได้อย่างคุ้มค่า คุ้มเวลาอีกด้วย ถ้ามีโอกาสครั้งหน้าคงจะต้องหาเวลามาแน่นอน สำหรับใครที่สนใจ  สอบถามได้ที่ 09 5017 8259

หลังจากนั้น ก็ตะลุยเที่ยวกันต่อที่ เขื่อนรัชชประภา หรือ เขื่อนเชี่ยวหลาน อุทยานแห่งชาติเขาสก

เขื่อนรัชชประภา มีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า เขื่อนเชี่ยวหลาน[1] เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของภาคใต้ อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อก่อนสร้างแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชชประภา” มีความหมายว่า “แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร”

การท่องเที่ยว ทัศนียภาพโดยรอบบริเวณเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ สวยสดงดงาม และสงบร่มรื่น เหมาะแก่การไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวปีละกว่า 70,000 คน ให้เดินทางมาเยี่ยมชมเขื่อนรัชชประภา พื้นที่อ่างเก็บน้ำมีทัศนียภาพอันงดงาม ประกอบด้วยยอดเขาหินปูนที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมามากมาย จนได้รับฉายาว่า “กุ้ยหลินเมืองไทย” ซึ่งพื้นที่น้ำเกือบทั้งหมด อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติเขาสก ติดต่อ 097 131 9864

และอีกหนึ่งไฮไลท์ให้ท่องเที่ยวได้มาเช็คอิน คือ ป่าต้นน้า บ้านน้าราด  ชมกระจกสะท้อนป่า ณ ชุมชนต้นน้ำ ที่ดูแลบริหารจัดการโดยชุมชนในพื้นที่ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปเที่ยวชมธรรมชาติ ทางชุมชนฯ ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวนำของกิน เครื่องดื่ม รวมถึงกระเป๋าสะพายเข้าไปในพื้นที่ เพื่อป้องกันการก่อให้เกิดขยะ รวมถึงการนำพันธุ์ไม้และ พันธุ์สัตว์อนุรักษ์ อย่างปูราชินี ออกจากพื้นที่อีกด้วย

ทริปนี้ เราได้ไกด์ตัวน้อย ชื่อน้องปาย เป็นสารถีพายเรือนำเที่ยว ล้องป่าต้นน้ำ บ้านน้ำราด ชมทัศนียภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของป่า หลังจากที่ สปาเท้า แช่น้ำ ให้ปลาน้อยได้ตอดเอาสนุก สำหรับใครที่รักการท่องเที่ยวธรรมชาติ บอกเลยที่นี่ มีเสน่ห์ชวนให้หลงใหล รวมถึงอยากจะนั่งแช่น้ำใสๆ ชมธรรมชาติ กันแบบลืมวัน ลืมเวลากันเลยทีเดียว หลังจากดื่มด่ำกับธรรมชาติกันพักใหญ่ ก็ถือโอกาสต้องอำลากระจกใบใหญ่แห่งป่าต้นน้ำ บ้านน้ำราด กันไปก่อน โอกาสหน้ามาสุราษฎร์ฯ ไม่พลาดที่จะกลับมาส่องกระจกบานนี้แน่นอน สำหรับใครที่สนใจ สอบถามได้ที่ 080 696 1166  หรือคลิกติดตามข้อมูลที่  www.facebook.com/phatonnumbannamrad

และโปรแกรม สุดท้ายท้ายสุด ก่อนจะเดินทางกลับ กทม. ที่ห้ามพลาด คือ วัดถ้ำสิงขร อ. คีรีรัฐนิคม ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นโบราณสถานคู่บ้านคู่เมือง อีกแห่งของชาวสุราษฎร์ธานี

วัดถ้ำสิงขร อยู่ที่หมู่ 5 ตำบลถ้ำสิงขร ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 24 กิโลเมตร ถนนสายสุราษฎร์ธานี-ตะกั่วป่า ระหว่างกิโลเมตรที่ 34-35 จะมีทางแยกเข้าวัดระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร บริเวณลุ่มน้ำคลองยัน (คลองขยัน) และลำน้ำคีรีรัฐ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา ด้านหลังวัดมีถ้ำขนาดใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีที่ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2480

ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทขนาดใหญ่ พระพุทธบาทจำลองและพระพุทธรูปปูนปัั้นขนาดต่าง ๆ จำนวนมาก บริเวณผนังถ้ำตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น รูปเทวดา ยักษ์ พระแม่ธรณีและสัตว์ในเทพนิยาย

ส่วนเพดานถ้ำตกแต่งด้วยลวดลายก้านขด บางส่วนใช้กระเบื้องถ้วยชามประดับ  ส่วนด้านหน้าถ้ำประดิษฐานเจดีย์ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมสร้างเลียนแบบเจดีย์สมัยศรีวิชัย องค์เจดีย์ประดับด้วยกระเบื้องถ้วยชามทั้งองค์ ใครอยากที่ต้องการชมสถาปัตยกรรม และโบราณสถานฯ วัดถ้ำสิงขร

เป็นการเดินทางปิดทริปการท่องเที่ยววิถีชุมชนและวัฒนธรรมพื้นถิ่น รวมถึงได้มีโอกาสร่วมบุญใหญ่ ออกพรรษา  ได้อย่างอิ่มบุญและมีความสุขถ้วนหน้า ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคใต้ อีกครั้ง ในการให้ โพสต์พาเที่ยว ได้มีส่วนร่วมเก็บภาพและบรรยากาศ สุราษฎร์วิถีแห่งสายน้ำ และวัฒนธรรมพื้นถิ่น ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน   #ชีพจรลง South #เที่ยวใต้ไม่ได้มีดีแค่ทะเล

สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจหรือสอบถามข้อมูลเส้นทางการท่องเที่ยว สุราษฏร์ธานี เพิ่มเติม สอบถามได้ที่ ททท. สำนักงาน สุราษฎร์ธานี  077 288 817 – 9 หรือ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ thai.tourismthailand.org

 

Loading Facebook Comments ...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here