National Geographic ฉบับภาษาไทย

ร่วมกับ Singha Estate จัดงานมอบรางวัล

ภาพถ่ายแห่งท้องทะเล

ในโครงการ

#SeaYouTomorrow ทะเลวันพรุ่งนี้อยู่ในมือคุณ

         ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย จึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลให้เสื่อมโทรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคน เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลให้ดีขึ้น โดย นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย  ร่วมกับ Singha Estate ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมทางทะเล จัดการประกวดภาพถ่ายในโครงการ “#SeaYouTomorrow ทะเลวันพรุ่งนี้อยู่ในมือคุณ” เพื่อมุ่งเน้นจิตสำนึกในการรักษา หวงแหน สร้างสมดุลให้ธรรมชาติของทะเล ผ่านภาพถ่าย โดยได้มีการจัดงานมอบรางวัลให้กับผลงานภาพถ่ายยอดเยี่ยม 3 ท่าน ได้แก่ คุณชินวัฒน์  เขตวัง , คุณธรรมยุทธิ์  วัฒนวงศ์วรรณ , คุณณภัทร  เวชชศาสตร์ ซึ่งภายในงานยังมีนิทรรศการภาพถ่าย “#SeaYouTomorrow Photo Gallery ของผู้ที่ได้ผลงานยอดเยี่ยมและผู้ที่ผ่านการคัดเลือก 30  ผลงานมาจัดแสดงเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงการอนุรักษ์ทะเล ในงาน Explorer Fair 2019  ตั้งแต่วันที่ 7-11 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ Hall 105 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค

 

คุณเจรมัย พิทักษ์วงศ์  กรรมการผู้จัดการ บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)  กล่าวถึงการจัดงาน ในครั้งนี้ว่า”นิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย มีการทำโครงการประกวดภาพถ่ายมาหลายโครงการมาเป็นเวลานาน ส่วนมากจะเป็นกลุ่มช่างภาพมืออาชีพที่ผ่านเข้ารอบ คนทั่วไปไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมมากนัก แต่ในปัจจุบันเป็นยุคโซเชียลมีเดีย กิจกรรมที่ทำนั้นจึงเปลี่ยนจากกล้อง เป็นโทรศัพท์มือถือของทุกคนได้ ดังนั้น ในโครงการนี้ทุกคนจึงจะมีส่วนร่วมส่งภาพประกวดและแสดงความคิดเห็นผ่านภาพถ่ายเป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทะเลด้วยภาพถ่ายของผู้เข้าร่วมโครงการที่ผ่านการคัดเลือกโดยคณะกรรมการ และช่างภาพมืออาชีพระดับประเทศเพื่อให้ภาพเป็นส่วนหนึ่งในการ สร้างการกระตุ้นจิตสำนึก และความตระหนักรู้แก่ทุกคน ในการรณรงค์อนุรักษ์ธรรมชาติทางท้องทะเล เพื่อต่อยอดสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ทำลายธรรมชาติอย่างยั่งยืน”

          คุณเกตุกร เขมธร ผู้อำนวยการบริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) จำกัด กล่าวว่า “เรามองว่าการตระหนักถึงทะเลนั้นเป็นปัญหาระดับโลก ควรน่าจะมีวิธีดีๆ ที่ทำให้ทุกคนได้มีโอกาสถ่ายทอดว่าเรามีความรัก ความหวงแหนในท้องทะเลมากแค่ไหน จึงเป็นที่มาของโครงการที่จะทำให้ “#SeaYouTomorrow ทะเลวันพรุ่งนี้อยู่ในมือคุณ เป็นที่รู้จักกว้างขวาง ซึ่งเป็นโครงการในการพัฒนาชุมชนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายหลักคือยากให้ทุกคนมาร่วมแบ่งปันภาพถ่ายแห่งท้องทะเล เพื่อรณรงค์ให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์คุณค่า ความงดงามของท้องทะเล ให้คงอยู่ต่อไป โดยมีคนสนใจและร่วมส่งภาพเข้ามาร่วมกิจกรรมกว่า 10,600 ภาพ และสร้างการรับรู้กับคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก ผลตอบกลับมาดีมากเกินความคาดหมายที่ตั้งไว้ ต้องขอบคุณผู้ร่วมประกวดทุกคนที่มีส่วนร่วมในโครงการ ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลภาพถ่ายยอดเยี่ยม ทั้ง 3 รางวัล จะได้ไปร่วมทริปสุดพิเศษ “Explore the Maldives” แบบตัวต่อตัวกับช่างภาพสายธรรมชาติแถวหน้าของเมืองไทยอีกด้วย โอกาสนี้ถือเป็นหนึ่งในแรงผลักดัน ของการสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนหันมา ทำให้ทะเลวันพรุ่งนี้ดีกว่าเดิม เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลคงอยู่อย่างยั่งยืน”

สำหรับการตัดสินผลงาน  เอกรัตน์ ปัญญะธารา ช่างภาพ นิตยสาร National Geographic ฉบับภาษาไทย เผยว่า “ภาพมีจำนวนเยอะมาก จากผลงานที่ร่วมโครงการ 10,000 ภาพ เราจะทยอยในการคัดเลือกไล่ดูเรื่อยๆ ตลอดแคมเปญ เกณฑ์การคัดเลือกหลักมี 2 อย่าง คือ สวยกับมีถ่ายทอดความหมายอะไรในรูปบ้าง มีความสำคัญเกี่ยวกับท้องทะเลยังไง ส่งผลกระทบต่อสิ่งใดไหม หลักเกณฑ์หลักที่ได้ 3 ภาพนี้ โจทย์ที่เลือกภาพคือทะเลวันพรุ่งนี้อยู่ในมือคุณ ซึ่งทะเลมีหลายความหมายมีเรื่องราวมากกว่าความสวยงาม ซึ่ง 3 ภาพยอดเยี่ยมที่ได้รับรางวัล สามารถถ่ายทอดถึงมุมมองของทะเลต่างๆ ออกมาได้เป็นอย่างดี”

ปิดท้ายด้วย นัท สุมนเตมีย์ ช่างภาพมืออาชีพ หนึ่งในคณะกรรมการคัดเลือกเผยว่า “กรรมการทุกท่านจะได้เห็นภาพชุดเดียวกันทั้งหมด ซึ่งมีภาพหลากหลายสไตล์มาก แต่สิ่งที่ภาพที่ดีจะนำเสนอออกไป ต้องพยายามหาจุดเด่นของเรื่องในภาพนั้นๆ เพื่อสื่อสารออกมา ไม่ได้เป็นแค่คนสร้างภาพ แต่เก็บภาพมานำเสนอให้กับคนที่ไม่มีโอกาสได้อยู่ในจุดตรงนั้น ได้เห็นภาพและความหมายที่เราต้องการถ่ายทอดให้ชัดเจนที่สุด”

สำหรับผู้สนใจ นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย สามารถติตดามรายละเอียดข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ เพจ National Geographic Thailand และ www.ngthai.com

Loading Facebook Comments ...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here